Good things

Food Fact

ดื่มได้ vs ดื่มไม่ดี To drink or not to drink

การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรูปแบบใดก็ตาม ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของวัฒนธรรม ช่วงที่อยู่บ้านยาวๆ ไม่ได้ทำอะไร ก็ดูซีรี่ย์เกาหลี เห็นเขากินไก่ กินพิซซ่า กินเบียร์ กินโซจู ก็อยากกินตามดื่มตาม หลายชาติเขาก็มีวัฒนธรรมการดื่มที่ชัดเจน อย่างคนฝรั่งเศสดื่มไวน์ เยอรมันดื่มเบียร์ ญี่ปุ่นดื่มสาเก เกาหลีดื่มโซจู บ้านเราดื่มหมดเลย ทำให้เกิดคำถามว่า การดื่มดีไหม พลลอง Search หาข้อดีของการดื่ม มันก็มีโผล่ขึ้นมาบ้าง ลองอ่านดู ก็เห็นจุดดีบ้าง ล่าสุดเมื่อได้คุยกับนักโภชนาการ จึงได้ขอคำตอบฟันธงของการดื่มแอลกอฮอล์ว่าควรดื่มไหม คำตอบก็คือ ถ้าไม่เคยดื่ม ก็ไม่ควรดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่ล้วนให้พลังงาน ซึ่งเราก็สามารถได้พลังงานจากอาหารอื่นๆ ได้ เครื่องดื่มบางชนิดมีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้คอเลสเตอรอลตัวดีเพิ่มขึ้น ซึ่งเราก็สามารถได้รับสารต้านอนุมูลดิสระเล่านั้นจากการรับประทานอาหารได้เช่นกัน บทความส่วนใหญ่ที่สนับสนุนเรื่องการดื่ม จะระบุปริมาณที่เหมาะสมซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิดความแรงของเครื่องดื่มนั้น การดื่มในปริมาณที่กำหนด อาจเป็นปริมาณที่ไม่ทำร้ายร่างกายมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม การดื่มเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายเราชิน และสามารถดื่มได้ในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งถ้าเราควบคุมตัวเองไม่ได้ อาจทำให้เรากลายเป็นคนติดเหล้าไปได้ การติดเหล้าหรืออะไรที่ไม่จำเป็นในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เปลืองเงินแล้วยังเปลืองตับด้วย แค่ไวรัสก็แย่แล้ว ทำให้ค่าใช้จ่ายประจำเยอะขึ้น ไหนจะหน้ากาก ไหนจะแอลกอฮอล์ทำความสะอาดโน่นนี่อีก ทำตัวเองให้เบาๆ ไว้เป็นดีครับ ขอให้ทุกคนสุขภาพกายใจแข็งแรงถ้วนหน้าครับ   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 47 : ดื่มได้ vs ดื่มไม่ดี

Food Fact

ดื่มน้ำอะไรดี

จากการพูดคุยกับนักโภชนาการ พลขอสรุปเหตุผลดี ๆ ของการดื่มน้ำให้เพียงพอ ก่อนอื่น ร่างกายเราประกอบไปด้วยน้ำมากมาย ระบบทางเดินอาหาร สมอง เลือด และน้ำลาย ล้วนต้องใช้น้ำ และนอกจากใยอาหาร น้ำก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย ช่วยให้เราท้องไม่ผูก ร่างกายเราต้องรับน้ำและขับออกในปริมาณประมาณ 3.4 ลิตรต่อวัน น้ำส่วนหนึ่งมาจากอาหารที่เรากิน อีกส่วนก็มาจากน้ำสะอาด 8-10 แก้ว หรือ 2-2.5 ลิตรต่อวันนั่นเอง เมื่อพูดถึงน้ำไม่มีรสที่เราดื่มกันหลักๆก็จะมีน้ำเปล่าน้ำแร่น้ำอัดแก๊สหรือโซดาซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของน้ำแร่อัดแก๊สก็ได้เช่นกันขอพูดถึงประเด็นแรกในการพิจารณาว่าเราจะเลือกน้ำเปล่าหรือน้ำแร่ดีแร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำแร่หลักๆได้แก่แคลเซียมแมกนีเซียมโซเดียมและฟลูออไรด์ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงบางยี่ห้อที่ระบุสัดส่วนของแร่ธาตุต่างๆให้เราได้ทราบและเราต้องเข้าใจก่อนว่าน้ำดื่มไม่ใช่แหล่งที่ดีที่สุดในการรับแร่ธาตุเหล่านี้เช่นนมเป็นแหล่งของแคลเซียมสำหรับคนที่ดื่มนมไม่ได้อาจจะมาดื่มน้ำแร่แทนเพื่อให้ยังได้รับแคลเซียมบ้างแต่สิ่งที่เราอาจต้องตระหนักก็คือถ้าเราต้องควบคุมการรับแร่ธาตุบางชนิดเช่นฟลูออไรด์ในเด็กหรือหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากการรับฟลูออไรด์มากเกินอาจะทำให้ผิวฟันมีลักษณะตกกะดังนั้นถ้าฟันของเด็กเคลือบฟลูออไรด์และใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์เป็นประจำเราก็ไม่ควรดื่มน้ำแร่ที่มีสัดส่วนฟลูออไรด์มากเป็นต้น นอกจากการเปรียบเทียบระหว่างน้ำแร่และน้ำเปล่าแล้ว พลอยากพูดถึงเรื่องของโซดาและน้ำแร่อัดแก๊ส เนื่องจากเพื่อนๆ หลายคนน่าจะเหมือนกับพล คือ ลดการดื่มน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลสูง แต่ยังอยากได้ความรู้สึกซ่าๆ ก็เลยหันมาดื่มโซดาแทน ในมุมของนักโภชนาการ โซดาจะมีความเป็นกรดอ่อนๆ แต่ไม่ถึงขั้นที่จะทำให้กระดูกพรุน ถ้าจะมีผลบ้างอาจจะเป็นเรื่องของฟันมากกว่า ซึ่งสามารถแก้ได้ด้วยการดื่มโดยใช้หลอด ข้อดีของโซดาคือ ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว ให้ความรู้สึกพิเศษกว่าน้ำดื่ม ข้อเสียคือ สำหรับคนที่ไม่ชอบจะรู้สึกไม่สบายตัวหรือจุกเสียด ทั้งนี้ทั้งนั้นน้ำแต่ละรูปแบบก็มีราคาที่แตกต่างกันไปเลือกที่ดีต่อกายแล้วต้องดีต่อใจสบายกระเป๋าด้วยนะครับ     ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 46 : น้ำดื่มกับโซดา Still or Sparkling?

Food Fact

มื้อโกง ดีต่อใจหรือดีต่อกาย

มื้อโกง ดีต่อกายหรือดีใจ จากการได้อ่านบทความของต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องของมื้อโกง (Cheat Meal) ก็จะมีความเห็นที่แตกต่างมากมาย พลเลยยกเรื่องมื้อโกงมาเป็นประเด็นพูดคุยกับนักโภชนาการ บทความที่พลเขียนจึงเป็นมุมมองของนักโภชนาการในเรื่องของมื้อโกง มื้อโกง สื่อความหมายไปในทางลบมากกว่าบวก ในมุมของมื้ออาหาร จึงสื่อถึงมื้ออาหารที่อาจจะประกอบด้วยอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ หรือปริมาณอาหารที่มากเกินไป มื้อโกง จึงเป็นทางเลือกในการปลดปล่อยของคนที่ต้องกินอาหารตามที่นักกำหนดอาหารกำหนด หรือคนที่ต้องการลดน้ำหนัก การกำหนดมื้อโกง มักจะออกแบบเป็นรายสัปดาห์ ในแง่ข้อดี มื้อโกงดีต่อใจแน่นอน เพราะการกินของที่อยากกิน แม้จะเป็นสิ่งที่ตัวเองไม่ควรกินในช่วงเวลานั้น ทำให้มีกำลังใจในการเดินหน้าต่อไป แต่ถ้ามองในมุมของการเผาผลาญ อาจจะเป็นมื้อที่ทำให้ร่างกายงงได้เหมือนกัน อย่างเด็กขาดสารอาหารในบางประเทศ ทำไมถึงมีชีวิตอยู่ได้ ก็เพราะร่างกายเขาปรับให้ชินกับการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ในมุมของการลดน้ำหนัก เรายังกินอาหารครบหมวดหมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม แต่ในปริมาณที่น้อยลง ช่วงเริ่มต้น เราอาจจะรู้สึกหิวเพราะร่างกายยังไม่ชิน แต่เมื่อทำซ้ำไปเรื่อย ๆ ระบบการเผาผลาญก็จะเริ่มเปลี่ยน การมีมื้อโกงเข้ามาแทรก เป็นเหมือนการบอกร่างกายว่าเราไม่ได้อยู่ในช่วงควบคุมอาหารแล้ว ในมุมมองของนักโภชนาการ มื้อโกงจึงมากับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น และทำให้ระบบการเผาผลาญเป็นไปอย่างไม่สม่ำเสมอ นักโภชนาการมองว่า บางทีเราอาจจะไม่ต้องกำหนดมื้อโกงก็ได้ เพราะในการใช้ชีวิตของเรา ก็อาจจะมีบางมื้อแทรกเข้ามาเป็นครั้งคราว เวลาที่เราไปงานเลี้ยงต่าง ๆ ที่เราก็ไม่สามารถกำหนดอาหารด้วยตัวเองได้ สรุปง่ายๆ ก็คือ เราหลอกตัวเองไม่ได้หรอกครับ   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 45 : มื้อโกงดีต่อกายหรือดีใจ

Food Fact

เผ็ด…ดี

นอกจากรสพื้นฐานในอาหาร ความเผ็ดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เรากินอาหารได้อย่างเอร็ดอร่อยขึ้น ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่าความเผ็ดไม่ใช่รส แต่เป็นความรู้สึกร้อนจากสารแคปไซซิน (Capsaicin) ที่มีอยู่ในพริกซึ่งอยู่บริเวณรกหรือแกนของตัวพริก นอกจากมีสารต้านอนุมูลอิสระแล้ว แคปไซซินยังช่วยทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดดี ลดคอเลสเตอรอลโดยรวม และเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวดี ทำให้จมูกโล่ง และเจริญอาหาร อย่างคนที่ลดน้ำหนัก นักโภชนาการมักจะแนะนำให้ทานเผ็ดน้อย เพราะจะได้ไม่ทานเยอะด้วย คนไทยกินพริกเฉลี่ย 8 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือเทียบเท่ากับ 22 กรัมต่อวัน ที่บอกว่าเป็นค่าเฉลี่ย เพราะบางคนก็กินมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยและฝึกกินเผ็ดมาอย่างไร ในมุมของนักโภชนาการ การกินเผ็ดมีแต่ข้อดี แต่สำหรับคนที่มีแผลในปาก หรือเป็นโรคกระเพาะ ก็อาจจะเกิดการระคายเคืองได้บ้าง และที่สำคัญ มีการทำวิจัยว่าพริกจินดาในบ้านเรา มียาฆ่าแมลงสูง ดังนั้น ถ้าเราทำอาหารกินเอง ควรจะล้างผ่านน้ำ หรือปล่อยน้ำไหลผ่านเพื่อลดสารตกค้าง เพื่อทำให้ความเผ็ดที่เรากินนั้น เป็นความเผ็ดที่ดีแท้ ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 44 : เผ็ด…ดี

Food Fact

กินถั่วลิสงอย่างไร ให้ปลอดภัยจากสารพิษจากเชื้อรา

กินถั่วลิสงอย่างไรให้ปลอดภัย ถั่วลิสง จัดเป็นอาหารสากลที่คนทั่วโลกนิยมรับประทาน คนไทยกินถั่วต้ม ถั่วคั่ว ทั้งกินเล่นกินเป็นอาหาร แต่ดูเหมือนว่าความร้อนในการปรุงอาจจะไม่ได้ทำให้เราปลอดภัยได้เสมอ อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) คือสารพิษจากเชื้อราที่เกิดในสภาวะที่มีความชื้นสูง สำหรับในบ้านเรา ในถั่วลิสง 1 กิโลกรัม ถ้ามีอะฟลาทอกซินมากกว่า 20 ไมโครกรัม ถือว่าอันตราย สิ่งที่น่ากลัวก็คือสารพิษอะฟลาทอกซินทนความร้อน การได้รับในปริมาณมาก หรือน้อย ๆ แต่สะสมไปเรื่อย ๆ จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และทุกครั้งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกตรวจ ก็ยังคงพบถั่วลิสงที่มีอะฟลาทอกซินเกินกำหนดอยู่มาก อะฟลาทอกซิน มักเกิดในช่วงขบวนการหลังการเก็บเกี่ยว (Post-Harvest) เวลาที่นำถั่วมาตาก แล้วเก็บตอนยังไม่แห้งดี นักโภชนาการแนะนะว่า ถ้าอยากกินถั่วลิสงให้ปลอดภัย เลือกที่มั่นใจว่ามาตรฐานสูง อย่างเวลาซื้อดูบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด เลือกแบรนด์ที่น่าจะมีส่งออกเมืองนอก เพราะต่างประเทศจะมาตรการในการช่วงคัดกรองให้เราอีกที อย่างถั่วลิสงในพวงเครื่องปรุงที่มีลักษณะเปิด เลี่ยงได้ควรเลี่ยงครับ ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 43 : กินถั่วลิสงอย่างไรให้ปลอดภัยจากเชื้อรา  

Food Fact

หมดอายุ VS ควรบริโภคก่อน

มีหลายครั้งที่เราทิ้งอาหารจากความลังเลว่ายังสามารถกินได้หรือไม่ นอกจาก “วันผลิต” ผู้บริโภคหลายคนสับสนระหว่าง “หมดอายุ” และ “ควรบริโภคก่อน” “หมดอายุ” ฟังดูจริงจัง สื่อไปในเรื่องของความปลอดภัยในการรับประทาน หลังจากวันหมดอายุ ห้ามรับประทาน เพราะอาหารอาจจะเน่าเสียหรือบูดไปแล้ว ถ้ารับประทานไป อาจจะมีอันตรายได้ ในขณะที่ “ควรบริโภคก่อน” นั้น สื่อถึงเรื่องคุณภาพ ถ้าเลยวันนั้นไปแล้ว อาหารยังสามารถกินได้ แค่คุณภาพ คุณลักษณะ หรือรสชาติอาจจะลดลงเท่านั้น ดังนั้น อาหารที่เลยวัน “ควรบริโภคก่อน” ไปแล้วนั้น เราจะต้องพิจารณาดูจากรูปลักษณะของอาหารนั้นว่ายังรับประทานได้หรือไม่ รวมถึงวางแผนในการซื้อและจัดเก็บอาหารให้พอดีกับความต้องการของเรา จะทำให้เราสามารถลดปัญหาเรื่องขยะอาหาร และทำให้เราสามารถประหยัดเงินได้ด้วยเช่นกัน   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 42 : หมดอายุ VS ควรบริโภคก่อน

next

End of content

No more pages to load