Food Fact

Food Fact

ถ่ายไม่ออก

#พลอยากเล่า #ถ่ายไม่ออก ท้องผูกไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เป็นสิ่งที่สามารถนำพาไปสู้โรคมะเร็งลำไส้ได้ สุขบัญญัติ 10 ประการ ในข้อที่ 1 ระบุไว้ชัดเจนว่า เราต้องถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน จะเห็นว่าต้องเป็นเวลาด้วย ไม่ใช่เวลาไหนก็ได้ บางคนมีชีวิตอยู่กับการเข้าห้องน้ำวันเว้นวันจนคิดว่าเป็นเรื่องปกติ   ปัจจัยที่ทำให้เราไม่เข้าห้องน้ำก็คือการดื่มน้ำไม่เพียงพอ ทานอาหารที่มีไฟเบอร์ไม่เพียงพอ ในแต่ละวัน เราควรได้รับใยอาหาร 20 ถึง 25 กรัม ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวโอ๊ต คนอีกกลุ่มที่ประสบปัญหาเรื่องการถ่ายก็คือผู้สูงอายุที่เริ่มเคลื่อนตัวยาก ไม่อยากลุกเข้าห้องน้ำบ่อย ก็เลยไม่อยากดื่มน้ำ ทุกวันนี้เวลาที่เราไปตรวจสุขภาพประจำปี ยังไม่มีการตรวจมะเร็งลำไส้อยู่ในแพ็กเกจ ในมุมของนักโภชนาการแนะนำว่า ผู้ใหญ่ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ควรจะเริ่มตรวจมะเร็งลำไส้ สำหรับคนอายุน้อย ก็อย่าได้ชะล่าใจ     ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 34 :ถ่ายไม่ออก

Food Fact

อารมณ์ อาหาร

#พลอยากเล่า #ให้สตินำพา บ้านเรารณรงค์เรื่อง 3 อ ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ ภาพรวมของอารมณ์มันดูลบมากกว่าบวก ต่อให้อารมณ์ดี มันก็ไม่ยั่งยืน ดังนั้นอย่าใช้อารมณ์เป็นตัวกำหนด เวลาไปซื้อของลดราคา พลเอาของใส่ตะกร้าเสร็จแล้ว ก่อนจ่ายเงิน มักจะเดินวนรอบๆ ร้าน ดูคนที่มาซื้อ บางทีเราก็รู้สึกว่าเขาน่าจะได้ใช้ของที่เราเลือกขึ้นมามากกว่าเรา ก็จะค่อยๆ ทยอยวางกลับ เรื่องกินเหมือนกัน ยิ่งเวลากินโต๊ะจีนหมุนๆ เวลาอาหารวางลง ในหัวก็จะคำนวณนับชิ้นว่าอาหารมีกี่ชิ้น คนกินมีกี่คน ต้องแบ่งคนละกี่ชิ้นดี เราจะกินทันเปล่า เป็นเหมือนการหาความยุติธรรมบนโต๊ะอาหาร เวลาที่เราหิว เราอยาก เราเครียด เป็นเวลาที่เราต้องตั้งสติดีๆ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เรากินอย่างไม่มีสติ การทานข้าวคนเดียวกับทานกับเพื่อน เราก็ทานไม่เท่ากัน คนแต่งงานใหม่ๆ มีแนวโน้วที่จะน้ำหนักขึ้น มีความสุขเกิน คนที่ผ่านการสูญเสียใหม่ๆ มีแนวโน้มที่จะน้ำหนักลด เพราะกินไม่ลง นักโภชนาการที่พลได้คุยด้วย ให้ข้อคิดว่าทุกอย่างอยู่ที่สติ อย่างการกิน เราก็ต้องกินอย่างมีสติ (Mindful Eating) เวลาใดก็ตามที่สติไม่อยู่กับตัว หายนะมักเกิด ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพที่แข็งแรงนะครับ     ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 33 : อารมณ์ อาหาร

Food Fact

ผอมไปเปล่า

#พลอยากเล่า #ผอมไปเปล่า ที่ผ่านมาคุยกันแต่เรื่องอ้วนเรื่องน้ำหนักเกิน ในอีกมุมมอง ผอมไปก็ใช่ว่าดี เหี่ยว ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคต่ำ คนผอมมีหลายปัจจัย อัตราการเผาผลาญดีเกิน ลักษณะการกินที่ตรงข้ามกับคนอ้วน เช่น กินแต่ผัก กินไขมันโปรตีนน้อย หรือกินข้าวไม่เป็นเวลา เช่น ทำงานจนลืมกิน ออกกำลังการเยอะเกิน ไม่อยากอาหารเพราะเครียด เป็นต้น ทุกสิ่งในโลกมันมีสองด้านจริงๆ อย่างความเครียด บางคนเครียดแล้วกิน บางคนเครียดแบบตรอมใจกินอะไรไม่ลง คนอ้วนเขาจะบอกว่าเวลากินให้กินอย่างเดียว อย่าทำอะไรไปพร้อมๆ กัน เช่น ดูทีวีหรือเล่นเกมส์แล้วกินไปด้วย มันทำให้เรากินเยอะโดยไม่รู้ตัว แต่คนผอมควรหาอะไรกินไปด้วยในเวลาที่ทำอะไรเพลินๆ จะได้ลืมไปว่ากินอยู่ ในมุมของโภชนาการ ถ้าคนอ้วนต้องลดอาหารที่ทาน 500 Kcal ต่อวัน คนผอมก็ต้องพยายามเพิ่ม 500 Kcal ต่อวันเช่นกัน ไม่ว่าจะเพิ่มด้วยปริมาณอาหารที่กิน หรือปรับเปลี่ยนอาหารที่กินให้เป็นอาหารที่ให้พลังงานมากขึ้น กินเนื้อสัตว์กินไขมันมากขึ้น เช่น กินข้าวเปล่า ก็ลองปรับมาเป็นข้าวผัด ดื่มน้ำผลไม้มากขึ้นก็ได้คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น รักที่จะมีสุขภาพดี แต่ใส่ใจเล็กน้อย ปรับให้เป็นนิสัย ไม่ยากหรอกครับ   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 32 : ผอมไปเปล่า

Food Fact

หลับดีกินดี

#พลอยากเล่า #หลับดีกินดี นอนเป็นเรื่องใหญ่ สถิติ 40% ของคนกรุงเทพ นอนไม่พอ หรือประสบปัญหาเรื่องการนอน อาหารที่ช่วยในการนอนดี ได้แก่ อาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่น นมเป็นอาหารที่มี Tryptophan ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น Serotonin และกลายเป็น Melatonin เป็นสารที่ช่วยให้นอนดี ซึ่งมีขายในรูปแบบอาหารเสริม หรือผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น กล้วย อุดมไปด้วย Serotonin ที่จะเปลี่ยนมาเป็น Melatonin เช่นกัน อาหารบางอย่างอาจทำให้เรานอนไม่หลับ เช่น กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่สุดท้ายแล้ว ผลข้างเคียงของคาเฟอีนนั้น ขึ้นอยู่กับบุคคล คนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ อาจจะไม่รู้สึกถึงผลข้างเคียงของคาเฟอีนเลย แต่คนที่ไม่เคยดื่ม อาจจะทำให้ตาค้างทั้งคืนเลยก็เป็นได้ นอกจากอาหารการกินแล้ว พฤติกรรมบางอย่างก็ส่งผลต่อการนอนเช่นกัน การที่พักผ่อนน้อยไม่ได้หมายความว่านอนไม่หลับ แต่เป็นการเลือกไม่นอน เพราะสิ่งเร้าต่างๆ เช่น การออกไปเที่ยวกลางคืน เล่นโทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต การนอนพักผ่อนให้เพียงพอนั้นจะทำให้ร่างกายแข็งแรง และหลั่งฮอร์โมนออกมาซ่อมแซมร่างกาย แต่ที่สำคัญต้องเป็นการนอนที่มีคุณภาพด้วย ไม่ได้เครียดนอนก่ายหน้าผากนะครับ   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP31 : หลับดีกินดี

Food Fact

ปณิธานปีใหม่ ปีใหม่นี้ฉันจะ….

#พลอยากเล่า #ปณิธานปีใหม่ ปีใหม่นี้ฉันจะ….อะไรก็ว่าไป ส่วนใหญ่ปณิธานที่เรามุ่งมั่นจะทำ มักเป็นเรื่องที่เรารู้สึกว่ามันดี แต่อาจจะต้องใช้กำลังใจกำลังภายในอะไรบางอย่างที่จะทำให้สำเร็จ คนเราส่วนใหญ่ตั้งปณิธานแล้วก็ล้มเลิกหรือลืมมันไป ถ้าการพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเป็นสิ่งที่ดี แล้วจะรออะไร ถ้าไม่ทำมันก็ไม่มีทางดีหรอก ร้อยทั้งร้อยของคนที่กินมั่วๆ กินอาหารแย่ๆ แล้วยังสุขภาพดีอยู่ คงไม่มีความคิดที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง เพราะยังไม่เห็นข้อเสียอะไร ยังไม่ได้ตระหนักว่าร่างกายของเรามันมีอายุการใช้งาน เดี๋ยวมันก็เสื่อม ก็เลยไม่ได้รักเขาอย่างที่เขาควรได้รับการดูแล ส่วนใหญ่คนที่หันมาดูแลสุขภาพจึงมักเป็นคนที่ได้รับสัญญานเตือนอะไรบางอย่าง ทำไมเราต้องให้การเปลี่ยนแปลงพัฒนาตัวเองของเราอยู่ใต้เงื่อนไขที่เหมือนเราถูกบังคับเหมือนถูกทำโทษ ทำไมเราไม่เห็นดีแล้วทำดีกับเขาตั้งแต่วันนี้ คนส่วนใหญ่จะมองเรื่องสุขภาพดีเชื่อมโยงกับเรื่องของน้ำหนัก จะว่าไปพลว่าไม่ผิดหรอกครับ เพราะโรคภัยไข้เจ็บส่วนใหญ่มันก็เชื่อมโยงกับโรคอ้วนจริงๆ ในอดีต พลเป็นคนชอบกินบุฟเฟ่ต์ บุฟเฟ่ต์ราคาไม่แพงแถมอาหารดี นี่คือสุดยอด แต่ถ้าเราลองสำรวจตัวเองหลังจากกินบุฟเฟ่ต์ทุกครั้ง พลว่าแทบจะไม่มีมื้อไหนที่เรารู้สึกสบายตัว ซึ่งส่วนใหญ่เราก็จะโทษตัวเองว่าเรากินเยอะเกิน ซึ่งก็น่าจะใช่ แต่เราจะไม่มองถึงคุณภาพของอาหารที่เรากิน เราชอบตั้งสมการว่าของดีคือของแพง พลเชื่อว่าคนส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานเรื่องการตลาด ไม่มีใครทำการค้าให้ขาดทุนหรอกครับ ในท้องตลาดมีอาหารดีๆ มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายที่ราคาถูกแสนถูก แต่คนไม่กิน เพราะของเหล่านี้ไม่ได้ผ่านกลไกทางการตลาดที่ทำให้เราให้ค่ากับมัน ปีใหม่ปีนี้ ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ Good Diet EP 30 : เป้าหมายปีใหม่

Food Fact

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

#พลอยากเล่า #ภัยไม่เงียบแค่ไม่อยากรับรู้ จากการสนทนากับนักโภชนาการใน Podcast ของ Good Diet ทำให้พลได้ทราบถึงตัวเลขของคนไทยที่เสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ซึ่งย่อมาจาก Non-Communicable Diseases นั้นมีค่าเฉลี่ยมากถึง 37 คนต่อชั่วโมง โรคกลุ่มนี้ไม่ได้มาจากการติดต่อ ไม่ได้มาจากการติดเชื้อใดๆ มันมาจากวิถีการใช้ชีวิตของเราทั้งสิ้น แล้วพฤติกรรมอะไรเล่าที่ทำให้เราตกเป็นเหยื่อของโรคกลุ่มนี้ โรค 6 โรคในกลุ่มนี้ที่คนเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ เบาหวาน / หลอดเลือดสมองและหัวใจ / ถุงลมโป่งพอง / มะเร็ง / ความดันโลหิตสูง / อ้วน สิ่งที่เราต้องตระหนักคือ โรคเหล่านี้เกิดจากเราทำตัวเราเองทั้งสิ้น จากสาเหตุของการกินอาหารไม่ครบหมวดหมู่ กินอาหารหวานเค็มมันจัด หรือกินมากเกินไป ไม่ออกกำลังกาย กินเหล้า สูบบุหรี่ หรือมีความเครียด ทุกๆ อย่างมันสัมพันธ์กันจริงๆ เวลาที่เห็นข้อมูลตัวเลขเหล่านี้ มันทำให้พลเริ่มสำรวจคนรอบตัว เริ่มเห็นว่าแทบทุกคนมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงกับโรคเหล่านี้ ดูเสมอว่าคนที่อายุน้อยก็จะไม่คิดว่าตัวเองมีพฤติกรรมที่เสี่ยง จนอายุมากขึ้นอาจจะเริ่มให้ความสนใจในวันที่ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนเดิม ที่น่าเศร้าก็คือคนป่วยหลายคนอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเหล่านี้ และไม่รู้ตัวจึงไม่ได้รับการรักษาหรือการควบคุม จากการศึกษาข้อมูลและเห็นตัวเลขของผู้เสียชีวิตที่หลายองค์กรได้ทำนายไว้ ซึ่งดูสูงขึ้นตลอด ส่วนตัวก็เชื่อว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น เวลาที่มองไปรอบๆ ตัว เราจะเห็นว่า ค่านิยมและสิ่งที่เป็นอยู่ในสังคม สิ่งที่คนกลุ่มใหญ่ให้ค่า มันไม่ได้เอื้อให้คนมีสุขภาพดี อยากให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ดูแลตัวเองทุกวันให้เป็นเรื่องปกติ ภัยนี้ไม่เงียบอยู่ที่ว่าเราเพิกเฉยหรือเปล่า เท่านั้นเองครับ  #NCDs #กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ “Good Diet EP 29 : กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

next

End of content

No more pages to load