Food Fact

Food Fact

กินถั่วลิสงอย่างไร ให้ปลอดภัยจากสารพิษจากเชื้อรา

กินถั่วลิสงอย่างไรให้ปลอดภัย ถั่วลิสง จัดเป็นอาหารสากลที่คนทั่วโลกนิยมรับประทาน คนไทยกินถั่วต้ม ถั่วคั่ว ทั้งกินเล่นกินเป็นอาหาร แต่ดูเหมือนว่าความร้อนในการปรุงอาจจะไม่ได้ทำให้เราปลอดภัยได้เสมอ อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) คือสารพิษจากเชื้อราที่เกิดในสภาวะที่มีความชื้นสูง สำหรับในบ้านเรา ในถั่วลิสง 1 กิโลกรัม ถ้ามีอะฟลาทอกซินมากกว่า 20 ไมโครกรัม ถือว่าอันตราย สิ่งที่น่ากลัวก็คือสารพิษอะฟลาทอกซินทนความร้อน การได้รับในปริมาณมาก หรือน้อย ๆ แต่สะสมไปเรื่อย ๆ จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และทุกครั้งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกตรวจ ก็ยังคงพบถั่วลิสงที่มีอะฟลาทอกซินเกินกำหนดอยู่มาก อะฟลาทอกซิน มักเกิดในช่วงขบวนการหลังการเก็บเกี่ยว (Post-Harvest) เวลาที่นำถั่วมาตาก แล้วเก็บตอนยังไม่แห้งดี นักโภชนาการแนะนะว่า ถ้าอยากกินถั่วลิสงให้ปลอดภัย เลือกที่มั่นใจว่ามาตรฐานสูง อย่างเวลาซื้อดูบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด เลือกแบรนด์ที่น่าจะมีส่งออกเมืองนอก เพราะต่างประเทศจะมาตรการในการช่วงคัดกรองให้เราอีกที อย่างถั่วลิสงในพวงเครื่องปรุงที่มีลักษณะเปิด เลี่ยงได้ควรเลี่ยงครับ ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 43 : กินถั่วลิสงอย่างไรให้ปลอดภัยจากเชื้อรา  

Food Fact

หมดอายุ VS ควรบริโภคก่อน

มีหลายครั้งที่เราทิ้งอาหารจากความลังเลว่ายังสามารถกินได้หรือไม่ นอกจาก “วันผลิต” ผู้บริโภคหลายคนสับสนระหว่าง “หมดอายุ” และ “ควรบริโภคก่อน” “หมดอายุ” ฟังดูจริงจัง สื่อไปในเรื่องของความปลอดภัยในการรับประทาน หลังจากวันหมดอายุ ห้ามรับประทาน เพราะอาหารอาจจะเน่าเสียหรือบูดไปแล้ว ถ้ารับประทานไป อาจจะมีอันตรายได้ ในขณะที่ “ควรบริโภคก่อน” นั้น สื่อถึงเรื่องคุณภาพ ถ้าเลยวันนั้นไปแล้ว อาหารยังสามารถกินได้ แค่คุณภาพ คุณลักษณะ หรือรสชาติอาจจะลดลงเท่านั้น ดังนั้น อาหารที่เลยวัน “ควรบริโภคก่อน” ไปแล้วนั้น เราจะต้องพิจารณาดูจากรูปลักษณะของอาหารนั้นว่ายังรับประทานได้หรือไม่ รวมถึงวางแผนในการซื้อและจัดเก็บอาหารให้พอดีกับความต้องการของเรา จะทำให้เราสามารถลดปัญหาเรื่องขยะอาหาร และทำให้เราสามารถประหยัดเงินได้ด้วยเช่นกัน   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 42 : หมดอายุ VS ควรบริโภคก่อน

Food Fact

ช่างออกกำลังกาย ช่างกิน

การออกกำลังกายดีต่อสุขภาพ คนที่ออกกำลังกายหนัก ก็สามารถกินได้มากกว่าคนไม่ออกกำลังกายเป็นธรรมดา เรียกว่า กินมากใช้มากตาม แต่กินอย่างไรให้ใช่ สารอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกายอย่างรวดเร็ว คือคาร์โบไฮเดรต และสะสมเป็นพลังงานสำรองในรูปไกลโคเจน ดังนั้น ช่วงก่อนออกกำลังกายเราต้องทานข้าว แป้ง และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนการออกกำลังกายคือการดื่มนม เพราะโปรตีนทำให้ดูดซึมคาร์โบไฮเดรตได้ช้า นอกจากนั้น ในระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายจะเสียเหงื่อ จึงต้องการปริมาณน้ำ และเกลือแร่โซเดียมเสริมให้เพียงพอเพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป ทั้งนี้ทั้งนั้น เกลือแร่ทดแทนมีสองประเภทหลักๆ อันได้แก่ เกลือแร่สำหรับคนออกกำลังกาย และเกลือแร่สำหรับผู้ป่วยท้องเสีย เวลาที่เราไปตามร้านขายยา ขอซื้อเกลือแร่ซอง ต้องซื้อให้ถูกประเภทด้วยนะครับ ไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้ เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ มีโซเดียมเป็นหลัก ในขณะที่เกลือแร่สำหรับคนออกกำลังกายเสียเหงื่อ จัดอยู่ในหมู่อาหารและเครื่องดื่ม มีน้ำตาลกลูโคสเป็น   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 41 : ช่างออกกำลังกาย ช่างกิน?

Food Fact

โภชนาการดี ราคาดี

สุขภาพดีสร้างได้ ในมุมมองของพล มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับนิสัย ความเคยชิน วิถีการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ในช่วงวิกฤตไวรัส พลได้มีเวลามากขึ้น จากที่ทำอาหารทานเองวันละ 1-2 มื้อ กลายเป็นทำอาหารทานเองทุกมื้อ แทบจะไม่มีสั่งข้างนอกมาทานเลย สำหรับพล เราชอบอาหารที่ทำเองมากกว่าซื้อทาน เพราะเราสามารถปรับรสส่วนผสมปรับปริมาณให้เหมาะกับเราได้ มันจะมีอะไรที่เหมาะกับเราไปมากกว่านี้ และที่สำคัญ พลไม่เคยรู้สึกว่าขาดอะไรเลย ก็คงเพราะว่าเราชินกับการดูแลตัวเองอย่างนี้มั้ง จากการได้ทำงานพูดคุยกับนักโภชนาการ ทำให้รู้ว่าการมีโภชนาการที่ดี มันไม่ได้มีราคาแพงเลย ไม่ว่าคุณเป็นใคร ใช้ชีวิตอย่างไร โดยหลักๆ เมื่อพูดถึงโภชนาการที่ดี ก็มาลงเอยที่ Balanced Diet หรืออาหารสมดุลนั่นเอง และการรับประทานอาหารที่สมดุลที่ดี มันไม่ได้สื่อถึงอาหารราคาแพงแต่อย่างใด หลายคนที่มีปัญหาเรื่องรายได้รายจ่าย ลงเอยด้วยการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทุกมื้อ ถ้าเรามีวินัยยอมที่จะพาตัวเองไปเดินตลาด จ่ายตลาดเลือกวัตถุดิบที่ราคาไม่แพง แต่มีประโยชน์มาปรุงเอง เราก็ยังสามารถมีสุขภาพที่ดีในราคาย่อมเยา น้ำพริกผักสด กินไม่หมดก็นำมาคลุกข้าว ผัดข้าวได้ เต้าหู้ผัดถั่วงอกใส่เลือดหมูคุณค่าอาจจะมากกว่าซูชิคำละแพงๆ ก็ได้ ปลานิลถูกๆ ก็สามารถนำมาทำอาหารได้มากมาย ลองหันไปรอบๆ ตัวสิครับ ในช่วงที่มันแย่ๆ เราก็หาสิ่งดีๆ ให้ตัวเองได้เหมือนกัน เอาใจช่วยและเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ แข็งแรงกายแล้วต้องแข็งแรงใจด้วย   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 39 : โภชนาการดี ราคาดี

Food Fact

กินนอก กินใน

#พลอยากเล่า #กินนอกกินใน คิดถึงสมัยเด็ก นอกจากข้าวเช้าแล้ว ทุกเย็น คนในครอบครัวต้องกลับไปกินข้าวบ้าน คนรุ่นพลน่าจะเห็นภาพ การกินข้าวนอกบ้านเป็นเรื่องของโอกาสพิเศษบ้านไหนกินข้าวนอกบ้านบ่อยดูจะเป็นครอบครัวที่มีฐานะดี พอย้อนกลับมาปัจจุบัน วิถีการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป การกลับมากินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัวกลับกลายเป็นโอกาสพิเศษ ในฐานะผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน จะกินนอกกินใน ส่วนตัวพลว่า ถ้ามันเหมาะกับวิถีการใช้ชีวิตของเรา ก็เลือกที่สะดวกนั่นแหละดีที่สุด แต่เราต้องรู้ทันอาหารที่เราเลือก ทุกวันนี้การเข้าถึงข้อมูลเป็นง่าย อ่านเยอะๆ คิดเยอะๆ ก่อนที่เราจะเลือก ถ้าเราจะกินอาหารแย่ๆ ก็ขอให้รู้ว่ามันแย่ และอย่ากินเยอะอย่ากินบ่อย อย่าติดในรูปรสอย่างเดียว ส่วนคนที่คิดว่าการทำอาหารกินเองเป็นเรื่องยาก อยากจะบอกว่ามันไม่ยากเหมือนที่คิดครับ สิ่งที่ดีก็คือ เราสามารถปรับรสปรับปริมาณให้มันเหมาะกับความต้องการของเรา การวางแผนที่ดีทำให้การทำอาหารกินเองราบรื่นขึ้นเยอะ ไม่จำเป็นต้องจ่ายตลาดทุกวัน อาทิตย์ละครั้งก็หรูแล้วครับ อาหารที่ทำควรหลากหลายในคุณค่าโภชนาการ ไม่จำเป็นต้องหลากหลายเมนู อาหารจานเดียวที่คุณค่าครบก็มีเยอะแยะ ครั้งแรกๆ การจับจ่ายซื้อของ อาจจะขาดๆ เกินๆ แต่เป็นเราทำไปเรื่อยๆ เราจะปรับลดได้เอง บางครอบครัวที่พลรู้จัก ทำอาหารสัปดาห์ละครั้ง แล้วแบ่งเป็นส่วนๆ แช่แข็งเก็บกินทั้งสัปดาห์ หรือบางคน ก็จะหั่นเตรียม จัดเก็บให้เป็นส่วนๆ เพื่อเวลาลงมือจะได้รวดเร็ว การหุงข้าวเผื่อกินสามวัน วันแรกกินข้าวสวย วันสองกินข้าวผัด วันที่สามกินข้าวต้ม เห็นไหมครับว่า ถ้าเรารู้จักวางแผน เลือกให้เหมาะกับการใช้ชีวิตของเรา การทำอาหารไม่ใช่เรื่องยาก ครัวจะใหญ่จะเล็ก ทำได้หมดแหละครับ คำแนะนำข้อคิดของพลไม่ได้ใช้ได้สำหรับทุกคน แค่อยากให้ลองคิด และถ้าอยากลองที่จะทำอาหารกินเองมากขึ้น พลเชื่อว่า คุณเองนั่นแหละที่จะออกแบบ หรือวางแผนให้กับตัวเองได้ดีที่สุด ลองเถอะครับ   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 38 : กินนอก กินใน

Food Fact

ภูมิแพ้อาหาร

#พลอยากเล่า #เกินทน #รับไม่ได้ ทุกวันนี้ เราจะเห็นว่ามีคนที่แพ้อาหารมากขึ้น แพ้นม แพ้ถั่ว แพ้สัตว์เปลือกแข็ง แพ้แป้งสาลี และแพ้อะไรอีกมากมาย ความรุนแรงของการแพ้ก็แตกต่างกันไป บ้างก็แพ้บางๆ วันหนึ่งหายไปเอง บ้างก็อาจจะแพ้มากถึงขนาดร่วมโต๊ะอยู่ใกล้ยังหายใจไม่ออก จากการได้พูดคุยกับนักโภชนาการในเรื่องของการแพ้อาหาร นักโภชนาการเชื่อว่า การแพ้อาหารไม่น่าจะรุนแรงถึงนำไปสู่การขาดสารอาหารได้ เพราะส่วนใหญ่ เราจะสามารถหาอาหารชนิดอื่นๆ ที่มีสารอาหารเหมือนกันมาทดแทนได้ คนที่มีอาการแพ้ หรือถ้าเรามีคนที่มีอาการแพ้อาหารอยู่ใกล้ตัว สิ่งที่ต้องทำคือต้องอ่านต้องถาม ผลิตภัณฑ์อาหารบางอย่าง ไม่มีส่วนผสมของถั่ว แต่เครื่องจักรหรือสายการผลิตอาจจะมีความเสี่ยงหรือเคยที่จะสัมผัสกับถั่วมาก่อน ที่บรรจุภัณฑ์ก็จะมีระบุไว้ เราจะเห็นว่ารายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ถ้าไม่รู้ไม่อ่านไม่สังเกตอาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงสำหรับบางคนได้ มีโรงพยาบาลหลายแห่งที่มีแผนกที่ดูแลเรื่องภูมิแพ้โดยเฉพาะ บางครั้งการไม่แน่ใจว่าเราแพ้หรือเปล่า การทดลองทดสอบควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่ใช่ทดลองเองอยู่กับบ้าน แพ้ชนะเป็นเรื่องของธรรมดา แพ้ก็ต้องยอมรับว่าแพ้ แล้วก็อยู่กับมันอย่างดีที่สุข มีสุขภาพที่ดี เรียกได้ว่าเป็นผู้แพ้ที่ยิ่งใหญ่   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ GoodDiet EP 37 : ภูมิแพ้อาหาร

next

End of content

No more pages to load