Good Diet EP 16 : โภชนาการเด็กวัยเรียน

Good Diet เราเคยพูดคุยเกี่ยวกับโภชนาการเด็กทารก ผู้สูงอายุ หรือช่วงตั้งครรภ์ มาถึงครั้งนี้เราจะมาเจาะลึกกันกับอีกกลุ่ม คือเด็กวัยเรียนซึ่งก็สำคัญไม่แพ้กัน 


Host, Guest

พล ตัณฑเสถียร

บทความที่เกี่ยวข้อง


โภชนาการเด็กวัยเรียน

#พลอยากเล่า #เด็กวัยเรียน สมัยเพิ่งจบทำงานย่านสีลม กิจกรรมของพลช่วงบ่ายต้นๆ คือการลงจากออฟฟิศมาหน้าโรงเรียนก่อนเด็กเลิกเรียน มาซื้อขนมกิน พลรู้สึกว่าขนมหน้าโรงเรียนคือ Street Food ที่สะอาด เพราะขายเด็ก ถ้าสกปรกไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ปกครองหรือครูคงไม่ให้ขาย ที่ชอบซื้อก็จะมีพวกลูกชิ้นทอด หมูทอด ปีกไก่ทอด และโตเกียว ไม่มีสาระเท่าไร แค่อร่อยก็พอ ทีนี้ ถ้าเราจะพิจารณาว่าถ้าเราเป็นผู้ปกครอง เราจะให้ลูกหลานกินอาหารเหล่านั้นหรือเปล่า นิยามของเด็กวัยเรียนในทางโภชนาการ หมายถึงช่วงอายุเด็กที่เรียนประถม เริ่มต้นที่ 7-12 ขวบ เรียกว่าเป็นเด็กที่กำลังโตเข้าวัยรุ่นเลย เด็กวัยเรียนมีความต้องการสารอาหารค่อนข้างสูง แต่มีกระเพาะอาหารที่เล็ก กินอาหารได้ปริมาณน้อย จึงควรเลือกแต่อาหารที่มีคุณค่าอาหารสูง เด็กกำลังเจริญเติบโตต้องใช้พลังงานมาก ต้องกินอาหารที่ให้พลังงานสูง เด็กชายช่วงอายุ 7-10 ปี อาจใช้พลังงานสูงกว่าแม่ด้วยซ้ำ วัยนี้เป็นช่วงสะสมมวลกระดูก ต้องได้แคลเซียมเพียงพอ ควรดื่มนมวันละสองแก้วเพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาโรคเกี่ยวกับกระดูกในช่วงต่อมาของชีวิต ควรออกกำลังกายที่มีลักษณะกระโดด มีการกระแทกเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กระดูก เด็กผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กมากกว่าเด็กชาย เด็กที่ไม่กินผักไม่กินอาหารเช้า อาจมีความเสี่ยงที่จะขาดโฟเลตซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต โดยรวมเราจะเห็นว่า เด็กมีปัญหาเรื่องอ้วน เพราะติดกินหวาน แม้แต่นม เด็กก็ไม่คุ้นกับการกินนมจืด บ้านเราน่าจะเป็นไม่กี่ประเทศที่มีขายนมแถบเขียวที่เป็นนมใส่น้ำตาล พลเคยมีโอกาสไปสอนเด็กทำอาหารที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นถือเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงเลยก็ว่าได้ เห็นอาหารที่เด็กๆ เลือกซื้อกินแล้วก็เป็นห่วงเหมือนกัน นมกล่องที่อยู่ในตู้เย็นไม่มีนมจืดเลย อาหารว่างที่เด็กเลือกซื้อจะเป็นอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แซนวิชแฮมชีส แซนวิชปูอัด หมูฝอยกับข้าวเหนียว เท่านี้จริงๆ เห็นแล้วก็อดห่วงไม่ได้ ผักผลไม้ไม่มีเลย แต่ก็จะมีโรงเรียนทางเลือกแบบที่ดูแลโภชนาการอาหารของเด็กเหมาะสม แต่จะเป็นส่วนน้อย เด็กวัยเรียนควรทานอาหารให้ครบสามมื้อ และจะดีมากถ้ามีมื้อย่อยๆ เนื่องจากกระเพาะอาหารเล็กกินได้จำกัด ไม่ควรยัดเหยียดให้เด็กกินเยอะๆ ในมื้อเดียว สอนให้เด็กกินอาหารที่หลากหลาย อย่าให้ตกร่องอยู่กับอาหารแค่บางอย่างที่เด็กชอบ พยายามอย่าให้เด็กกินอาหารติดหวาน เพราะจะติดไปจนโต และที่สำคัญให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอให้เพียงพอนะครับ เด็กวัยเรียนคือช่วงรอยต่อที่สำคัญ ดูแลดีๆ ดูแลกันไปนะครับ   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ “Good Diet EP16 :โภชนาการเด็กวัยเรียน”